อ่านดะที่เป็นภาษาอังกฤษ

เคล็ดลับที่ 3
อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า

ผมมีความคิดอยู่อย่างหนึ่งว่า ก็ในเมื่อภาษาของเรา เราเข้าใจมันดีอยู่แล้ว เราจะพูด จะอ่านเมื่อไหร่ เราก็เข้าใจมันเสมอ ฉะนั้นแล้วเราต้องอ่านภาษาอังกฤษเท่านั้น เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แตกฉานมากขึ้นเรื่อยๆ

1] อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ

ผมลงทุนมากเลยครับ หาหนังซื้อหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับละ 10-30 บาทมาอ่านครับ(ลุงทุนมากตรงไหนแค่ซื้อหนังสือพิมพ์) ไม่ได้ซื้อทุกวันนะครับ ซื้อฉบับเดียวเท่านั้นครับ

จากนั้นอ่านเลยครับ ศัพท์ตัวไหนคำไหนไม่ทราบ ผมเปิดดิกฯดูทันทีครับและเขียนคำแปลของคำนั้นๆลงในหนังสือพิมพ์ฉบับที่อ่านนั่นแหล่ะครับ โดยเขียนลงใกล้ๆกับศัพท์ที่เราไม่ทราบความหมายนั่นแหล่ะครับ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆครับ แรกๆที่ผมทำนะครับ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่ผมอ่านและเขียนศัพท์ทับลงไปจะเต็มไปด้วยหมึกสีน้ำเงินเต็มไปหมดเลยครับ ก็เพราะว่าผมไม่ค่อยทราบคำศัพท์ที่อยู่บนหนังสือพิมพ์นั่นเอง ส่วนคำไหนที่ผมทราบคำแปลผมก็ปล่อยว่างๆไว้เหมือนเดิมโดยไม่แตะต้อง ไม่ต้องเขียนอะไรลงไป แต่น่าอัศจอ รอ หัน การันต์ ยอ อย่างมากครับ ฉบับที่สอง สาม สี่ ห้า …อ่านแล้วทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆครับ ว่างตอนไหนเราก็อ่านครับ ไม่ทราบคำแปลก็เปิดดิกชันนารีหาความหมายและก็เขียนกำกับบริเวณข้างๆของคำๆนั้น ทำซ้ำๆ พอนานเข้าๆ ผมให้ท่านเดาครับว่าเกิดอะไรขึ้น

จากฉบับแรกผมเขียนคำแปลประมาณ 90% ของหนังสือพิมพ์ครับ สังเกตุจากสีหมึกที่ผมเขียนลงไปเป็นสีน้ำเงินเต็มไปหมดเลยครับ แต่ฉบับถัดๆมามันลดลงอย่างต่อเนื่องครับ ฉบับที่สามที่สี่ก็เห็นชัดแล้วครับว่าปริมาณการจดลดน้อยลงอย่างเห็นผิดหูผิดตา

ทุกวันนี้ผมแทบจะไม่ต้องเปิดดิกชันนารีเลยครับ ผลที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไรหรือครับ บางท่านอาจสงสัย คำตอบก็คือ เพราะว่าคำศัพท์มันจะเหมือนๆเดิมครับ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า “Prime Minister” “นายกรัฐมนตรี” ครับ ผมจดศัพท์นี้กับการอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับแรกเพียงฉบับเดียวเท่านั้นครับ เพราะผมไม่รู้คำแปลของศัพท์นี้ในครั้งแรก จากนั้นผมอ่านเจอคำเดิมนี้อีกในหัวข้อข่าวหรือฉบับอื่นๆ ผมไม่จำเป็นต้องจดอีกต่อไปแล้วครับ เพราะผมจำได้อย่างแม่นยำจนขึ้นใจซะแล้วน่ะสิครับ ว่ากันอีกซักคำสองคำครับ “will be held” “จะจัดขึ้น” / “take place” “ดำเนินการที่หรือเกิดขึ้นที่” / “visit” “ไปเยี่ยม” / “local news” “ข่าวท้องถิ่น” / “world news” “ข่าวทั่วโลก” / “sport news” “ข่าวกีฬา” / “murder” “ฆาตกร” / “ killed” “ฆ่า” เหล่านี้เป็นต้น

ทุกวันนี้ผมอ่านหนังสือพิมพ์เข้าใจประมาณ 85-95% ครับยังไม่เต็มร้อย บางครั้งต้องหาข้อมูลจากหลายๆแหล่งมาประกอบกันเพิ่มเติมอยู่บ้างครับ

2] อ่านเวบไซท์ต่างๆที่เป็นภาษาอังกฤษ

ผมก็จะอ่านเช่นเดียวกันครับ ผมจะใช้ Browser search engine ที่ลงท้ายด้วย (xxxx.com) ครับ เพราะว่าจะเป็น Browser กลางที่จะส่งข้อมูลทั่วโลกและส่วนใหญ่แล้วเวบไซท์ที่แสดงขึ้นก็จะเป็นเวบไซท์ภาษาอังกฤษครับ ถ้าเราค้นหาผ่าน (xxx.co.th) การทำงานของบราวเซอร์จะแคบลงครับ คือจะค้นหาแหล่งข้อมูลที่เป็นเวบไซท์ในประเทศก่อน แล้วจึงไต่ไปหาเวบไซท์ที่เป็นภาษาอังกฤษ ก็จะทำให้เวบไซท์ภาษาอังกฤษแสดงผลออกมาให้เห็นน้อยครับ

มีเวบไซท์ที่น่าสนใจที่เราสามารถศึกษาภาษาอังกฤษและไม่จำเจ ได้ความรู้รอบตัวอีกด้วยคือ

www.yahooanswer.com เวบนี้จะเป็นเวบถาม-ตอบปัญหาต่างๆโดยผู้ท่องเวบด้วยกันเองครับ โดยจะมีหมวดการถามตอบอยู่หลายๆหมวดเช่น electronics science travel...

www.ask.com เป็นเว็บถามตอบที่มีคำเฉลยมาให้เลือก 4 คำตอบด้วยกัน พร้อมทั้งมีคำเฉลยและคำอธิบายขยายความคำตอบนั้นๆด้วยอยู่ด้านล่างของคำถามนั้นๆ

www.en.wiki.com ท่านที่ต้องการหาความรู้ที่ถ่ายทอดโดยผู้รู้ในแขนงต่างๆ เข้าใช้บริการเวบนี้ครับได้ศึกษาภาษาอังกฤษ ได้ทราบเรื่องราวต่างๆมากมายหลากหลายทั่วโลกครับ

3] อ่านตัวหนังสือที่ขึ้นบนจอทีวี

ทุกครั้งที่ผมดูทีวี ถ้าสถานีไหนมีตัวหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษวิ่งที่หน้าจอ ผมก็จะหัดอ่านตามไปด้วยครับ ถ้าคำไหนเข้าใจก็ดูผ่านไป ถ้าคำไหนผมไม่เคยเห็นมาก่อนผมก็จะเปิดดิกชันนนารีดูทันทีทันใดเลยครับ กรณีที่มันไม่ได้อยู่ใกล้มือ ผมก็จะรีบจดใส่กระกาษไว้ก่อนครับ แล้วผมจะไปค้นหาศัพท์อีกทีภายหลัง

4] อ่านคำบรรยายของภาพยนต์ไทย

หนังไทยหลายเรื่องจะมีคำบรรยายภาษาอังกฤษด้วย อันนี้ผมชอบมากครับ เพราะว่าคำบรรยายขอหนังจะเป็นคำพูดที่ใช้สนทนากันอยู่ในชีวิตจริงและใช้พูดกันอยู่ในปัจจุบัน ภาพยนต์ที่เป็นของประเทศอื่นที่เข้ามาฉายในเมืองไทยทั้งในโรงภาพยนต์และจอทีวีช่องปกติ เคเบิลทีวี จานดาวเทียมทีวี ก็มาจากประเทศนอกจากฮอลลี่วูดแล้วก็มี จีน อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เสปน อิตาลี ฯ

นอกจากจะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มเติมแล้ว โดยเฉพาะฝึกทักษะการฟัง คำพูดที่ช้าบ้าง เร็วบ้างตามบทของหนังจะสร้างความคุ้นเคยให้กับเราอย่างดี ฟังตอนแรกๆนะครับ ผมรู้สึกว่าผมตามไม่ทันครับเพราะเร็วมาก แต่อาศัยว่าผมทำบ่อยๆ เปิดดูบ่อยๆเป็นประจำจึงทำให้การฟังช่วงหลังๆผมจะเข้าใจ ฟังออกและตามเรื่องราวได้ทันมากขึ้นเป็นลำดับ

นอกจากหนังจะให้ความบันเทิง ความรู้ด้านภาษาอังกฤษแล้ว ยังทำให้ผมได้เห็นวัฒนะธรรม ภูมิประเทศ การใช้ชีวิตของประเทศนั้นๆอีกด้วย

5] อ่านฉลากสินค้าที่เป็นภาษาอังกฤษ

เมื่อไปจ่ายสินค้า(Shopping)ในห้างสรรพสินค้า ผมจะอ่านฉลากสินค้าที่ติดอยู่ข้างขวดที่เป็นภาษาอังกฤษก่อนครับถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจถึงดูภาษาไทย ถ้าไม่มีภาษาไทยกำกับไว้ผมก็จะจดคำที่ผมสนใจแล้วไปค้นหาความหมายภายหลัง ฉลากสินค้าที่ผมอ่านประจำก็มีเช่น สบู่ ช็อกโกแลต ถุงยางอนามัย(Condom) เบียร์ ยาสระผม นมชนิดกล่อง ขนมปัง ฯ

บางครั้งผมจะเข้าไปเดินตามห้างร้านและอ่านรายละเอียดของสินค้าที่เราสนใจและไม่จำเป็นที่เราจะต้องซื้อสินค้าทุกชิ้นที่เราชอบ แต่การที่เราเลือกอ่านภาษาอังกฤษบนฉลากสินค้าที่เราสนใจนั้น เราจะอ่านมันด้วยความจดจ่อ และความจดจ่อนี่แหล่ะจะเป็นส่วนส่งสารความจดจำ ความระลึกได้ไปสู่เบื้องลึกของสมอง เลือกอ่านสิ่งที่ชอบ ใส่ใจที่ใช่ หัวใจของท่านจะพร้อมรับสิ่งเร้าเหล่านั้น

6] อ่านทุกอย่างที่เป็นภาษาอังกฤษ

เอกสารที่ส่งมาที่บ้านเรา บางชุด บางประเภทจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษมาด้วย เช่นใบแจ้งยอดบัตรเครดิต ใบแจ้งหนี้ธนาคาร บิลค่าน้ำ ค่าไฟ หนังสือเชิญชวนต่างๆ เอกสารแจ้งราคาสินค้าของห้างสรรพสินค้าต่างๆ คู่มือการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น คู่มือโทรศัพท์มือถือ คู่มือการใช้รถยนต์ คู่มือการใช้แอร์ ฯ

ผมจะอ่านภาษาอังกฤษในเอกสารเหล่านี้ด้วย เราจะเข้าใจความหมายได้ไม่ยากด้วยครับ เพราะจะมีภาษาไทยด้วยหรือเป็นเหตุการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้นในบ้านเรา เป็นเรื่องในปัจจุบัน ปัจจัยเหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้เราสามารถเดาศัพท์ต่างๆที่เราไม่ทราบได้โดยไม่ยากเย็นนักครับ

See more:
เคล็ดลับที่ 1
เคล็ดลับที่ 2
เคล็ดลับที่ 4
เคล็ดลับที่ 5

ความคิดเห็น