แปล-แปลมันเข้าไปภาษาอังกฤษ
เคล็ดลับที่ 11
หัดแปลภาษาอังกฤษ
ก่อนที่ผมจะกล่าวถึงประเภทการแปลของผม ขอกล่าวถึงเทคนิคการแปลของผมก่อนครับ มี 2 วิธีด้วยกันดังต่อไปนี้
1. แปลแบบไม่ใช้พจนานุกรม(Non-use dictionary)
ขั้นตอนเบื้องต้นจะพยายามแปลโดยการอ่านข้อความเรื่องราวและแปลไปทีละประโยคๆ เรื่อยไปโดยพยายามจินตนาการไปด้วยว่าเนื้อหาที่แปลออกมานั้นเป็นไปในแนวของต้นฉบับหรือไม่ การแปลเป็นภาษาไทยของผมอาจจะไม่ตรงกันเป๊ะๆกับประโยคต้นฉบับภาษาอังกฤษ แต่เมื่อนำผลการแปลทั้งหมดมาสรุปรวบยอดแล้วจะต้องได้ความหมายเหมือนกันกับหลักคิดของต้นฉบับ
2. ใช้พจนานุกรม(Use dictionary)
ขั้นตอนนี้จะสืบเนื่องจากขั้นตอนแรกก็คือเมื่อแปลแล้วไม่ทราบความหมายจริงๆ ไม่ทราบศัพท์ของประโยคนั้นๆ ถ้าแปลออกมาแล้วความหมายมันดูแปร่งๆยังไงชอบกล ผมก็จะใช้พจนานุกรมเข้าช่วยครับ ยอมเสียเวลาเปิดนิดนึงครับเพื่อความถูกต้องในการแปลครับ
พจนานุกรมที่ผมใช้อยู่ทุกวันนี้ ผมจะใช้พจนานุกรมออนไลน์ของกูเกิ้ล(Google translate) ครับหรือบางครั้งผมจะใช้ของเจ้าอื่นๆทั่วๆไปโดยการค้นหาจากเวปเบราว์เซอร์ของเซิร์สเอนจินครับ
เทคนิควิธีการค้นหาคำแปลพจนานุกรมออนไลน์จากเวปเบราว์เซอร์ของเซิร์สเอนจินของผมมี 2 แบบคือ
- กรณีต้องการทราบความหมายเป็นภาษาอังกฤษด้วยกัน พิมพ์คำที่ต้องหาคำแปลลงไปในช่องค้นหาของเวปเบราเซอร์ของเซิร์สเอนจินของกูเกิ้ล (Google Search) จากนั้นพิมพ์คำว่า “definition” หรือ “meaning” ต่อท้าย กดปุ่มค้นหาหรือปุ่ม Enter เมื่อมีเวปไซท์ต่างๆปรากฏขึ้นมา เราก็ลองเลือกและคลิกขึ้นมาดูคำแปลครับ
- กรณีต้องการทราบความหมายเป็นภาษาภาษาไทย ทำขึ้นตอนเหมือนกับข้อหนึ่งครับ เพียงแต่เปลี่ยนคำลงท้ายของคำที่ต้องการค้นหาเป็นคำว่า “แปลว่า” หรือ “คือ” หรือ “หมายถึง” ครับ
การของผมจะมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการแปลของผมครับ
1. แปลในใจ
วัตถุประสงค์ในการแปลในใจของผมคือผมจะแปลภาษาอังกฤษที่ต้องการความรู้หรืออยากจะทราบว่าความหมายภาษาอังกฤษ เรื่องราวหรือบทความนั้นๆว่ามันคืออะไรในภาษาไทยของเรา (ไม่ได้แปลเพื่อนำไปถ่ายทอดต่อ เช่น เขียนบล็อก เป็นต้น
การแปลในใจนั้นมีข้อดีคือไม่ต้องเสียเวลาในการจดใส่กระดาษหรือสมุดเพื่อเก็บไว้ดูภายหลัง แต่ข้อเสียก็คือเราจะลืมประโยคหรือเรื่องราวเหล่านั้นได้ง่ายกว่าการแปลด้วยวิธีจดบันทึกซึ่งผมกำลังจะกล่าวต่อไปครับ
2. แปลและจดบันทึก
การแปลประเภทจดบันทึกของผมคือการแปลที่ต้องการเก็บไว้เพื่อนำกลับมาอ่านหรือทบทวนภายหลัง ผมจะเตรียมสมุดและปากกาไว้สำหรับจดประโยค บทความ ข่าวสาร หนังสือหรือเรื่องราวต่างๆที่จะแปล
วิธีการแปลและจดบันทึกจะช่วยให้เราจดจำได้แม่นยำและลืมยากกว่าวิธีแรกครับ เพราะว่าการแปลและเขียน เป็นการฝึกทั้งสองอย่างควบคู่กันไปคือแปลและจด แปลและจด ๆ จะทำให้ลืมยาก แต่ว่าถ้าลืมก็สามารถนำมาเปิดอ่านทบทวนซ้ำได้อีก
3. แปลเพลง
ผมจะแปลเพลงสากลและนำมาเขียนลงบล็อกเพื่อแบ่งปันให้กับผู้สนใจทั่วโลกครับเข้าไปเยี่ยมชมกันได้ครับที่ลิงค์นี้ Bilingual Lyrics: English-Thai เนื้อเพลง แปลเพลง
การแปลเพลง ผมว่าค่อนข้างยากมากครับ ท่านลองนึกดูครับ เอาแค่แปลเพลงไทยเราก็เหอะ บางครั้งยังยากเลยมีการใช้ศัพท์มากมายหลายแบบ ศัพท์เทคนิค คำความหมายแฝง อย่างเช่น เพลงกินตับ สมมุตติว่าถ้าเราจะแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ฝรั่งเข้าใจเหมือนคนไทยเข้าใจภาษาไทย ท่านว่ายากหรือไม่ครับ แต่ผมก็พยายามอย่างเต็มความสามารถเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ผลการแปลออกมาเป็นที่เข้าใจมากที่สุด
อย่างไรก็ดี ท่านเชื่อหรือไม่ว่า บล็อกของผมมีผู้เยี่ยมชมเป็นชาวต่างชาติจำนวนมากพอๆกับคนไทยเลยครับ
4. แปลหนังสือตำราสอนภาษาอังกฤษ
ผมจะแปลตำราหรือหนังสือสอนภาษาอังกฤษและนำมาสอนให้กับเด็กๆและผู้สนใจทั่วไป
5. แปลหนังสือหลักสูตรมหาวิทยาลัยที่เป็นภาษาอังกฤษ
หนังสือที่เป็นตำราเรียนที่เป็นภาษาอังกฤษที่เขียนโดยอาจารย์ชาวไทยหรือชาวต่างชาติก็ตาม ผมจะซื้อหนังสือที่ผมสนใจมาแปลครับ เพราะว่าเป็นแหล่งความรู้ภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐานเพราะเป็นตำราหลักสูตรที่เขียนขึ้นเพื่อสอนกันในมหาวิทยาลัยหรือเป็นหนังสือที่เขียนโดยคณาจารย์ที่มีภูมิความรู้ในเรื่องนั้นๆเป็นอย่างดี
see more:
เคล็ดลับที่ 9
เคล็ดลับที่ 10
เคล็ดลับที่ 12
เคล็ดลับที่ 13
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น